วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

เทคโนโลยีสารสนเทศ



อินเทอร์เน็ต

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อินเทอร์เน็ต

        
1.ความหมายของอินเทอร์เน็ต

เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรธุรกิจ หน่วยงานของรัฐบาลสถานศึกษา ตลอดจนเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ข้อมูล สารสนเทศ สินค้าและบริการที่นำเสนอผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เหล่านี้สามารถ เข้าถึงได้จากคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ จากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สำนักงาน โรงเรียน ชายทะเล หรืออาหารทั่วโลก
       ในปัจจุบันมีคนจากทั่วโลกนับพันล้านคนที่เข้าถึงบริการบนอินเทอร์เน็ต เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ อีเมล (e-mail) พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ห้องคุย (chat room) การส่งสารทันที (instent messaging) และวอยซ์โอเวอร์ไอพีหรือวีโอไอพี (Voice over IP: VoIP)


โครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต

       ประกอบด้วยเครือข่ายระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน 5.2 อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครือข่ายอื่นด้วยความเร็วและคุณภาพที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการสื่อสาร และสื่อที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟเบอร์ออพติกและคลื่นวิทยุ 
       ถึงแม้ในปัจจุบันพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน้ตทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อินเทอร์เน็ตก็ยังคงเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ หน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนมีหน้าที่ในการดูแล และจัดการจราจรข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตในเฉพาะเครือข่ายที่รับผิดชอบ

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

        ผู้ใช้ที่เป็นคนทำงาน นักเรียน หรือนักศึกษา มักจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายของหน่วยงาน โรงเรียนหรือมหาวิยาลัย ซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ขณะที่ผู้ใช้ทั่วไปอาจใช้วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ หรืออาจเชื่อมต่อผ่านบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต (broadband Internet connection) เช่น เอดีเอสแอล (Asymmetric Digital Subscriber Line : ADSL) เคเบิลโมเด็มที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเคเบิลทีวี หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย เช่น ไวไฟ หรืออินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม 
        สถานที่สาธารณะหลายแห่ง เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย สนามบิน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม มักจะมีบริการอินเทอร์เน็ตทั้งแบบมีสายและไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้อุปกรณ์แบบพกพาสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้โดยสะดวก
        ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี (Internet Service Provider : ISP) ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ โดยอาจคิดค่าบริการเป็นรายเดือน บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน้ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที ซีเอส ล็อกซ์อินโฟ กสท โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที และสามารถเทลคอม นอกจากนี้ไอเอสพียังให้บริการเสริมอื่นๆ เช่น อีเมล เว็บเพจ พื้นที่จัดเก็บข้อมูลหรือโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ตัวอย่างการเข้าสู่บริการอินเทอร์เน็ตโดยผ่านผู้ให้บริการ


การติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต

      คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ต มีคุณลักษณที่แตกต่างกัน เช่น ประเภทของคอมพิวเตอร์ ซีพียู หรือระบบปฏิบัติการนอกจากนี้รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เข้าสู่อินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นแลนหรือแวนก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน การที่อินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกันให้สามารถทำงานร่วมกันได้ เนื่องจากใช้โพรโทคอลเดีวยกันในการสื่สารที่เรียกว่า ทีซีพี/ไอพี(Transmission Control Protocol: TCP/IP)

เลขที่อยู่ไอพี 
     เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันบนอินเตอร์เน็ต จะมีหมายเลขอ้างอิงในการติดต่อสื่อสารเรียกว่า เลขที่อยู่ไอพีหรือไอพีแอดเดรส(IP address)ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกันเลย โดยไอพีแอดเดรสประกอบด้วยเลข4ชุด ซึ่งแยกกันด้วยเครื่องหมายจุด เช่น 202.29.77.155 ซึ่งเป็นไอพีแอดเดรสของเว็บไซต์สถาบันส่งเสริมดารสอนวืทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ระบบชื่อโดเมน
      เนื่องจากเลขที่อยู่ไอพีอยู่ในรูปของชุดตัวเลขซึ่งยากต่อการจดจำและอ้างอิงระหว่างการใช้งานดีงนั้นจึงกำหนดให้มีระบบชื่อโดเมน(Domain Name System: DNS)ซึ่งแปลงเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นชื่อโดเมนที่อยู่ในรูปของชื่อย่ออังกฤษหลายส่วนคั่นด้วยเครื่องหมายจุด


2. เวิลด์ไวด์เว็บ


การเรียกดูเว็บ

 เป็นโปรแกรมใช้สำหรับแสดงเว็บเพจ และสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่นผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ หรือไฮเปอร์ลิงค์ (hyperlink) หรือเรียกสั้นๆว่า ลิงค์ (link) เว็บเบราว์เซอร์ช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการใช้งานอินเทอร์เน้ต นอกเหนือไปจากการสื่อสารหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครือข่าย ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ เช่น Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer, Apple Safari, Google Chrome และ Opera


ที่อยู่เว็บ


ในการอ้างอิงตำแหน่งของแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้ร้องขอ เช่น เว็บเพจ สามารถทำได้โดยการระบุยูอาร์แอล (Unifrom Resource Locator: URL)

โพรโทคอล ใช้สำหรับระบุมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเว็บ เช่น เอชทีทีพี และเอฟทีพี (File Transfer Protocol: FTP) ในกรณีของเอชทีทีพี ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้สามารถจะละส่วนของโพรโทคอลนี้ได้ เนื่องจากถ้าไม่ระบุโพรโทคอล เว็บเบราว์เซอร์จะเข้าใจว่าผู้ใช้มีความประสงค์จะใช้โพรโทคอล เอชทีทีพีเพื่อเข้าถึงเว็บเพจ


การค้นหาผ่านเว็บ

โปรแกรมค้นหา หรือเสิร์ซเอนจิน (SEARCH ENGINES)ใช้สำหรับค้นหาเว็บเพจที่ต้องการโดยระบุคำหลักหรือคำสำคัญ (keyword) เพื่อนำไปค้นในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งรวบรวมเว็บเพจต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นรายการเว็บเพจที่ประกอบด้วยคำหลักที่ระบุ ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกประเภท หลากหลายรูปแบบ เพื่อการศึกษาหรือเพื่อความบันเทิงได้อย่างรวดเร็ว โปรแกรมค้นหาสามารถให้บริการค้นหาข้อมูลตามประเภท หรือแหล่งข้อมูล เช่น ค้นหาเฉพาะข้อมูลที่เป็นภาพ วีดิทัศน์ เสียง ข่าว แผนที่ หรือบล็อก โปรแกรมค้นหาแต่ละโปรแกมอาจใช้วิธีที่ต่างกันในการจัดอันดับความเกี่ยวข้องของเว็บเพจกับคำหลักที่ระบุ โดยเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกับคำหลักมากที่สุดจะอยุ่ในอันดับบนสุด ตัวอย่างโปรแกรมค้นหา เช่น Ask, AltaVista, Bing, Excite, Google และ Yahoo
เมตาเสริร์ชเอนจิน (metasearch enging) เป็นโปรแกรมค้นหาที่ไม่มีการรวบรวมเว็บเพจไว้เป็นฐานข้อมูลของตนเอง แต่ค้นหาจากฐานข้อมูลของโพปรแกรมค้นหาอื่นๆ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการที่สุด จากโปรแกรมค้นหาหลายโปรแกรมได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยอาจแสดงผลลัพธ์รวมจากทุกโปรแกรมค้นหาไว้ในชุดเดียวกัน และตัดรายการผลลัพธ์ที่ซ้ำซ้อนกันออกไป หรืออาจแสดงผลลัพธ์ของแต่ละโปรแกรมค้นหาแยกเป็นคนละชุด ซึ่งอาจทีรายการที่ซ้ำซ้อนกันปรากฏฝอยู่ตัวอย่างของเมตาเสิร์ชเอนจิน เช่น Dogpile, Mamma และ Vivsimo

เว็บ 1.0 และเว็บ 2.0

     เว็บ 1.0 (Web 1.0) เป็นเว็บในยุคแรกเริ่มที่มีลักษณะให้ข้อมูลแบบทางเดียว ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึงเว็บเพจในฐานะผู้บริโภคข้อมูลและสารสนเทศตามที่ผู้สร้างได้ให้รายละเอียดไว้เพียงอย่างเดียวไม่ค่อยมีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย และมีรูปแบบการใช้งานไม่หลากหลาย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากข้อจำกัดหลายประกาย เช่น ความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีระบบเครือข่ายช่องทางในการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีในการพัฒนาเว็บ อีกทั้งจำนวนผู้สร้างเว็บมีอยู่เป็นจำนวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้าถึงเว็บเพื่อบริโภคข้อมูลและสารสนเทศ
    ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้การบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ที่ปรากฏบนเว็บเพจ เช่น การโพสต์ข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ ความคิดเห็น การจัดอันดับ ด้วยความแตกต่างที่พบได้เหล่านี้ จึงได้มีการเรียกเว็บประเภทนี้ว่าเว็บ 2.0 (Web 2.0)
    ลักษณะเด่นที่พบในเว็บ 2.0 ที่แตกต่างจากในเว็บ 1.0 เช่น มีการสร้างเครือข่ายทางสังคมผ่านเว็บไซต์ มีการพัฒนาความร่วมมือแบบออนไลน์ มีการแบ่งปันข้อมูลแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาเพิ่มมากขึ้น

3. บริการบนอินเทอร์เน็ต



ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

เป็นบริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อความและไฟล์ต่างๆ ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีที่อยู่อีเมล (e-mail address) เพื่อระบุตัวตนบนเครือข่าย เปรียบเสมือนกับเป็นที่อยู่ที่รับใช้รับและส่งจดหมาย


มารยาทของการสื่อสารผ่านอีเมล

1. ใช้หัวเรื่องที่สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาในอีเมล

2. เขียนเนื้อหาให้มีสาระในการสื่อสารที่ชัดเจน

3. เขียนข้อความให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ เหมาะสมกับกาลเทศะ และลงชื่อผู้เขียนทุกครั้ง

4. ใช้ bcc ในการระบุผู้รับ เมื่อส่งข้อความถึงผู้รับจำนวนมาก เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้รับที่ระบุใน bcc

5. อย่าใช้อักษรภาษอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ซึ่งแสดงถึงการตะโกน หรือการข่มขู่ผู้อ่าน

6. จัดระเบียบข้อความเป็นย่อหน้าเพื่อสะดวกต่อการอ่าน

7. ใช้ภาษาที่เหมาะสมและตัวสะกดที่ถูกต้อง

8. ใช้การตอบกลับ (reply) แทนการเขียน (compose) ข้อความใหม่ เพื่อให้สามารถติดตามเรื่องราวของอีเมลที่เกี่ยวข้องกันได้สะดวก

9. ใช้การตอบกลับไปยังทุกคน (reply all) เมื่อจำเป็น เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในการตอบอีเมลนั้น

10. ใช้อักษรตัวย่อ หรือสัญรูปอารมณ์ที่ไม่ฟุ่มเฟื่อยจนเกินไป และคาดหวังว่าผู้รับสามารถเข้าใจได้


การสื่อสารในเวลาจริง

เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไปยังผู้รับ ในการสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องเข้าใช้ระบบในเวลาเดียวกันและข้อความจะถูกส่งจากผู้ใช้คนหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคนในกลุ่มได้ ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น การแชท ห้องคุย และวอยซ์โอเวอร์ไอพี


เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม

เป็นชุมชนออนไลน์มี่สมาชิกในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยมีเป้าหมายในการเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ โดยอาจเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้มีความสนใจร่วมกัน เช่น การแบ่งปันวีดิทัศน์ การเล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น การทำความรู้จักกัน การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และการรวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์ หรือให้ข้อมูลทั่วไป ช้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลในการประกอบอาชีพ


บล็อก (Blog)

เป็นระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อื่นสามารถอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ รายการหัวข้อที่ปรากฎในบล็อกมักจะเรียงลำดับหัวข้อที่นำเสนอล่าสุดไว้ที่ส่วนบน คำว่า "บล็อก" มาจากคำว่า "เว็บล็อก" เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏมีลักษณะเป็นการบันทึกข้อมูลผ่านเว็บที่มีการระบุวันเวลารวมถึงผู้บันทึกข้อมูลแต่ละหัวข้อไว้ หัวข้อข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อกอาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกันจนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ข้อมูลและความเห็นสามารถนำเสนอในรูปแบบของข้อความ ภาพ ได้


ไมโครบล็อก

เป็นบล็อกที่มีการแสดงหัวข้อและความคิดเห็นที่กระชับ กะทัดรัด ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกสามารถเลือกหัวข้อจากบล็อกอื่นให้มาปรากฏในไมโครบล็อกของตนเอง หรือตามสมาชิกอื่นได้


วิกิ (Wiki)

เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเพาะเรื่อง สามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูลใหม่ หรือเป็นผู้ปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้ถูกต้อง และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายละเอียดของข้อมูลที่เผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์กับบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน องค์กรธุรกิจสามารถใช้เป็นที่รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับการดำเนินการสำหรับให้บุคคลในองค์กรใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงาน ผู้ใช้สามารถเรียกดูประวิติการปรับปรุงข้อมูลย้อนหลังได้


4 โปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์






เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานและอาจร้ายแรงถึงขั้นทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้เสียหายทั้งระบบ โดยจะทำการแนบโปรแกรมแปลกปลอมเข้าไปกับโปรแกรมอื่นๆ ได้ โดยผ่านสื่อบันทึกข้อมูล






เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่สามารถคัดลอกตัวเองแล้วส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทันที โดยอาศัยการเจาะผ่านช่องโหว่ของเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ตที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ โดยจะเข้าไปกีดขวางการทำงานของระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ช้าลง




เป็นโปรแกรมแอบแฝงที่เมื่อโปรแกรมได้รับการดาวน์โหลดหรือมีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะแสดงหน้าต่างป๊อปอัพ ที่มีการโฆษาสินค้าออกมาเป็นระยะๆ โดยอัตโนมัติ

5 ผลกระทบจากการใฃ้งานอินเทอร์เน็ต




ผู้ใช้งานอินทรอเน็ตติดต่อกันเป็นเวลานานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาโรค ติดต่ออินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง มีอาการที่ต้องสงสัย เช่น มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตต่อเนื่อง เป็นเวลานานมากขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกหงุดหงิด หดหู่ กระวนกระวายเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้คิดว่าเมื่อได้ใช้อิน เทอร์เน็ตแล้วจะทำให้รู้สึกดีขึ้น แต่โดยความเป็นจริงแล้วการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานก่อให้เกิดผลเสียต่อ ร่างกาย




เจาะระบบรักษาความปลอดภัย ให้สามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อกระทำการใดๆกับระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์ หรือข้อมูลในทางที่มิชอบต่างๆ อาจทำให้เกิดความเสียหายในเชิงธุรกิจ การบิดเบือนข้อเท็จจริง

ขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยการใช้ช่องทางการสื่อสารหรืออินเทอร์เน็ต เช่น การแชท การโทรศัพท์ ในการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนตัวของบุคคล โดยการปลอมแปลงเป็นผู้ดูแลระบบ หรือผู้ดูแลข้อมูล เป็นบุคคลใกล้ชิด หรือสร้างสถานการณ์ฉุกเฉินที่เสมือนจริง เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อเกิดความไว้วางใจ หรือหลงเชื่อ และเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดนรู้เท่าไม่ถึงการณ์





จากการที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบางคน สร้างตัวตนขึ้นมาใหม่ในการติดต่อสนทนากับผู้อื่น โดยให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เช่น เพศ อายุ ภาพถ่าย เพื่อล่อลวงให้คู่สนทนาสนใจตัวตนใหม่ และนัดพบเพื่อกระทำอันตรายต่างๆ จนเกิดปัญหาร้ายแรงต่อทรัพย์สินหรือต่อตนเอง




เทคโนโลยี AI กับ Localization แบบไทยๆ ปรับใช้ตรงไหนได้บ้างในอนาคต

หากถามว่าเทคโนโลยีอะไรที่กำลังกลายเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต ใครคว้าก่อนก็ได้โอกาสก่อน เทคโนโลยีนั้นก็คือ AI หรือปัญญาประดิษฐ์นั่นเอง หากพูดคำนี้ปุ๊บ หลายคนมักนึกภาพ AI ในรูปแบบของหุ่นยนต์ แต่แท้จริง AI คือทักษะที่เลียนแบบและอาจทำได้ดีกว่ามนุษย์ จนสามารถแทนที่งานบางส่วนของมนุษย์ได้ ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จัก AI และแนวโน้มการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในประเทศไทย

AI คืออะไร

AI (Artificial intelligence) หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เป็นเทคโนโลยีแห่งยุคที่ถูกนำมาพูดถึงไม่น้อยไปกว่า Blockchain และทุกบริษัทกำลังมุ่งพัฒนา AI อย่างต่อเนื่อง ทั้งที่จริง AI ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาหลายสิบปีแล้ว เพียงแต่ปัจจุบันโลกเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคของ AI อย่างแท้จริงจากการเข้ามาของสมาร์ทโฟน และการเกิด Big Data มหาศาล ที่เป็นส่วนขับเคลื่อนให้ AI สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันเราได้เห็นความสามารถของ AI ที่มีทักษะที่มีความคล้ายมนุษย์ หรือมีการเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ และทำได้ดีกว่ามนษุย์ ทั้งสามารถ ‘คิด’ แก้โจทย์ต่างๆ สามารถ ‘มองเห็น’ จดจำ แยกแยะ ระบุสิ่งต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถ ‘ได้ยินเสียง’ และ ‘โต้ตอบ’ กับมนุษย์ได้  
โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา AI เผยให้เห็นการพัฒนาที่ก้าวกระโดด เราได้เห็นการนำ AI มาใช้ในการวินิจฉัยโรค การพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ หรือการที่ Alpha Go สามารถชนะแชมป์โลกหมากล้อม  ดังนั้นกระแสของ AI ในเวลานี้เองไม่ใช่แค่ Buzzword อีกต่อไป แต่เกิดมูลค่าทางธุรกิจขึ้นมาจริงๆ แล้ว จากการสำรวจของ Gardner รายงานว่าตลาดการพัฒนา AI จะมีมูลค่าสูงขึ้นถึง 3.9 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2022 ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอื่น  
วลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซียได้กล่าวไว้ว่า “ใครเป็นผู้นำในด้าน AI จะเป็นผู้ครองโลก” AI จึงเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในแผนพัฒนาของประเทศต่างๆ ยกตัวอย่างประเทศจีน ที่มีแผนยุทธศาสตร์ ในการสร้างประเทศให้เป็นผู้นำด้าน AI ภายในปี 2030 โดยมีการร่วมมือกับบริษัทใหญ่ในจีน ได้แก่ Baidu และ Tencent ในการพัฒนา AI
นอกจากนี้ AI ก็ยังถูกพัฒนาโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น Apple, Google, Microsolf, Amazon, LINE, Huawei เป็นต้น ซึ่งเราได้เห็นในเชิงพาณิชย์กันบ้างแล้ว ทั้งผู้ช่วยบนมือถือ ผู้ช่วยภายในบ้าน หรือการใช้ AI วิเคราะห์การถ่ายภาพเป็นต้น

AI ในไทยมีการพัฒนาอย่างไรบ้างในปัจจุบัน

หากมองกลับมาที่ประเทศไทย เรียกได้ว่าหลายบริษัทตื่นตัวในการพัฒนา AI อยู่พอสมควร เราเริ่มเห็นหลายธุรกิจที่นำ AI มาใช้ในเชิงพาณิชย์กันแล้ว ทั้งยังมีการวางแผนพัฒนาต่อ ยกตัวอย่างเช่น ภาคธนาคารที่มีการนำ AI ทำงานเบื้องหลัง หรือวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และนำเสนอบริการที่ตรงใจ เช่น SCB Abacus ที่นำ AI มาให้บริการ โปรเพื่อคุณ บนแอป SCB Easy และ สินเชื่อแม่มณีออนไลน์ ที่ให้กับ SME บน Lazada รวมทั้ง KBTG ที่มี KADE เป็น AI ทำงานเบื้องหลังในแอป K PLUS
ทีเห็นกันบ่อยในภาคธุรกิจ ก็มีการพัฒนา Chatbot ที่ทำหน้าที่แทนคอลเซ็นเตอร์ ในการตอบคำถาม ดูแลลูกค้า ช่วยวางแผนและหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด คุ้มที่สุด ให้บริการได้ตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกัน Chatbot ก็ยังต้องพัฒนาอีกมาก
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า ในร้านค้า ห้างสรรพสินค้า เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคและนำไปสู่การปรับปรุงบริการ และการให้บริการส่งเสริมการขาย

AI ในไทยมีแนวโน้มเป็นอย่างไรในอนาคต

อย่างที่กล่าวไปว่า หลายบริษัทก็มุ่งพัฒนา AI มาใช้ประโยชน์ ซึ่งหากแบ่งตามภาคธุรกิจต่างๆ หรือแม้กระทั่งภาครัฐแล้ว มาดูต่อถึงแนวโน้มการใช้งาน AI ในอนาคต
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีai

ด้าน Logistic

ด้วยเทคโนโลยี AI ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานเพิ่มเติมในอุตสาหกรรม Logistic  ตัวอย่างเช่น การต่อยอดประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experiences) ผ่านการสนทนา และยังสามารถคาดเดาพฤติกรรมเพื่อวางแผนจัดส่งสินค้าล่วงหน้าก่อนที่ลูกค้าจะสั่งซื้ออีกด้วยโดยภาค Logistic สามารถนำ AI เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานตั้งแต่ส่วนของระบบหลังบ้าน งาน Operation และการให้บริการลูกค้า ด้วยความสามารถด้านการคาดเดาเหตุการณ์ ที่ได้ข้อมูลเชิงลึกมากกว่าและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ตัวอย่างการใช้งาน AI ได้แก่ ใช้ AI จดจำสินค้าจากรูปภาพและรูปแบบ พร้อมกับดำเนินการย้ายสินค้าใน Store อัตโนมัติได้ และสามารถคาดการณ์ข้อมูลที่จำเป็นได้รวดเร็ว เช่น ความผันผวนของปริมาณการจัดส่งสินค้าทั่วโลกล่วงหน้าก่อน จากข้อมูลหลายส่วนที่ได้รับมาประกอบกัน

ด้านการศึกษา

ด้วยความสามารถของ AI จะช่วยลดเวลาการทำงาน ดังนั้น AI อาจสามารถช่วยครูในการทำกิจกรรมที่ต้องซ้ำๆ อย่างการตรวจการบ้านได้ เช่นการตรวจการบ้านที่เป็นตัวเลือก ก็สามารถใช้ AI มาช่วย เพื่อให้เวลาครูได้มีเวลาที่จะพัฒนาทำกิจกรรมอย่างอื่นกับนักเรียนมากขึ้น

ด้านการเงินและธนาคาร

หลายธนาคารกำลังมุ่งพัฒนา AI ไปในทิศทางเดียวกัน ในอนาคต เราจะได้เห็นหลากหลายบริการ ทั้งการเป็นผู้ช่วยให้กับลูกค้า เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เป็นต้น โดยปัจจุบัน เราได้เห็นหลายธนาคารนำ AI มาใช้แล้วอย่างที่กล่าวไป ซึ่งไม่เพียงแค่ในด้านของธนาคารเท่านั้น ยังมี FinTech Startup ที่นำ AI มาวิเคราะห์ด้านการลงทุน หรือการออมเงิน เป็นต้น

ภาครัฐ

ปัจจุบัน ภาครัฐมีแนวโน้มการนำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์แทนกิจกรรมที่ใช้คนทำมากขึ้น เช่นกรณีของ สรรพากรที่เล็งพัฒนา AI มาวิเคราะห์การยื่นภาษีของประชาชน ทั้งยังมีแผนในการพัฒนาใช้งานด้านการศึกษาและด้านอื่นๆ

ด้านอสังหาฯ

ในฟากอสังหา AI สามารถเข้ามาช่วยในงานก่อสร้าง  เช่น การวิเคราะห์ วางแผน สำรวจโครงสร้างต่างๆ ก่อนก่อสร้าง เพื่อให้สามารถก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านสุขภาพ

เราเริ่มเห็นการพัฒนา AI มาช่วยวินิจฉัยโรคกันบ้างแล้ว ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ นำ IBM Watson เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์การรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีการนำ AI มาวินิจฉัยโรคอื่นๆ
นอกจากนี้ประเทศไทยยังสามารถพัฒนา Solution จาก Pain Point ที่พบเจอในอุตสาหกรรมหลักของประเทศได้ เช่น AI Solution ใน AgriTech, Food Tech ไปจนถึงธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่ง Solution เหล่านี้ไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพภายในเท่านั้น แต่ยังสามารถส่งออกไปแก้ปัญหาที่ต่างๆ นับเป็นโอกาสที่ไทยจะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในอุตสาหกรรมที่เราถนัดอยู่แล้ว
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เทคโนโลยีaiสุขภาพ
แม้ว่าในวันนี้ประโยชน์ของ AI ในประเทศไทยจะอยู่ในขั้นเริ่มต้น แต่จะต้องมีบทบาทกับเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่งแน่นอน เป็นการดีที่เราจะเริ่มเตรียมพร้อมในส่วนที่เกี่ยวข้อง และช่วยกันกระตุ้นเตือนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะทุกความเปลี่ยนแปลงคือโอกาสสำหรับคนที่เตรียมพร้อมนั่นเอง






เทคโนโลยี Blockchain

Blockchain (บล็อกเชน) คำศัพท์ใหม่ ที่เราเริ่มได้ยินตามสื่อต่างๆ รวมถึงตามงานสัมมนากันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน FinTech บทความนี้ผู้เขียนตั้งใจจะขออธิบาย concept ของมัน โดยเฉพาะเรื่องประโยชน์และการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้


bitcoin-green

Blockchain (บล็อกเชน) คืออะไร และสำคัญอย่างไร

"Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง"

โดยปกติแล้วเรามักต้องพึ่งพิงบุคคลที่สาม (centralized trusted party) มาช่วยทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยตรวจสอบความน่าเชื่อถือเวลาทำธุรกรรม  ถ้าท่านผู้อ่านเคยทำธุรกรรมออนไลน์ จะสังเกตเห็นว่า มักจะต้องมีคำที่ระบุว่า Secured by หรือ Protected by ตามด้วยชื่อตัวกลางใดๆ
แน่นอนว่า Trust เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่อย่างนั้นเราจะกล้ากรอกข้อมูลบัตรเครดิตได้อย่างไร โดยที่ยังมั่นใจว่ามันจะไม่รั่วไหล หรือถูกทำให้เปลี่ยนแปลง
การมาของบล็อกเชนมีส่วนช่วยอย่างมาก เพราะบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ประโยชน์ของมันคือมันเป็นเทคโนโลยีที่นำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ทีนี้ธุรกรรมออนไลน์ใดๆ ก็จะสามารถทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น ใส่ความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น creative มากขึ้น innovative มากขึ้น ประหยัดขึ้น รวดเร็วขึ้น มันเรียกได้ว่าเป็น “transfer of trust in a trustless world” เพราะถึงแม้สองบุคคลจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ด้วยความมั่นใจ พูดถึงคำว่าแลกเปลี่ยนข้อมูล ก็มีการประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางทีเดียว เราจึงตื่นเต้นกันว่าบล็อกเชนนี่แหละ ต่อไปจะเป็น Game changer
blockchain

การทำงานของ Blockchain

บล็อกเชน เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Data structure) แบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูล Digital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆ คนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิ้งก์ต่อไปยังทุกๆ คนเป็น โดยที่ทราบว่าใครที่เป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริงๆ
เมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน  มันจะเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง เวลาที่มีใครต้องการจะเพิ่มข้อมูล ทุกๆ คนในเครือข่ายซึ่งล้วนแต่มีสำเนาของบล็อกเชน สามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบ Transaction โดย Transaction ใหม่นี้จะได้รับอนุญาต ต่อเมื่อในเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามันถูกต้อง

Bitcoin (บิทคอยน์) กับ Blockchain (บล็อกเชน) เกี่ยวข้องกันอย่างไร

บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยของข้อมูล
บิทคอยน์ ว่าด้วยเรื่องสกุลเงินบนโลกดิจิตอล
จะเห็นได้ว่า บล็อกเชน ไม่ใช่ บิทคอยน์ และบิทคอยน์ ก็ไม่ใช่บล็อกเชน แต่โมเดลบิทคอยน์ มีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้ มีความปลอดภัย
และเพราะว่า บล็อกเชน ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่เจาะจงเฉพาะบิทคอยน์ หรือ FinTech เพียงแต่เทคโนโลยีนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อวงการ FinTech ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน และการบูมของเทคโนโลยีตัวนี้ มาจากความพยายามในการทำบิทคอยน์

ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้

เช่น วงการอสังหาริมทรัพย์ สามารถประยุกต์ใช้ทำ Smart contract โดยถ้าสัญญาอยู่ในบล็อกเชน ทุกคนจะเห็นข้อมูลตรงกัน เราจึงสามารถไว้ใจให้ระบบ Automate ปฏิบัติงานใดๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาได้ นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ได้อีกมากมาย ดังที่มีการสรุปไว้ในแผนภาพนี้
nonfinancial blockchain

ทิ้งท้าย

ขอแนะนำให้นำคีย์เวิร์ดต่างๆ บนภาพข้างต้นนี้ ไปลองศึกษาเพิ่มเติมนะคะ ความจริงเรื่องของบล็อกเชน มีข้อมูลอีกมากมายที่รอให้ท่านศึกษา ทั้งนี้ท่านสามารถเซิร์จอ่านได้ทั้ง Financial blockchain และ Non-financial blockchain จะพบกับตัวอย่างการประยุกต์ใช้มากมาย หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจคอนเซปต์ของเทคโนโลยีบล็อกเชนมากขึ้น ไว้มีโอกาสจะนำเสนอคำศัพท์อื่นๆ เพิ่มเติม